หน้าแรก         รูปบ้าน         กิจกรรม         กติกาบ้าน/การจอง         MAPอัมพวา/บ้าน         Guest Book         ผู้มาเยือน         ติดต่อ/คำถาม    
.

หมวดเมนู




เมนูแนะนำ


ผู้ใช้ขณะนี้: 1 คน

คลิ๊ก

4,052 คน ถูกใจเพจนี้


ติดต่อ 086-8897294 พี่ฝน


 


ติดต่อ 086-8897294 พี่ฝน


หมวดเมนู: ข้อมูลอัมพวา
ข้อมูลเกี่ยวกับอัมพวา
05-08-2014 Views: 14092

การเดินทางไปอัมพวา..อ่านต่อ 

สถานที่ท่องเที่ยวอัมพวา..อ่านต่อ 

ข้อมูลเกี่ยวกับ"อัมพวา"

ด้านประวัติศาสตร์

       อำเภออัมพวา มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยก่อนเรียกว่า "แขวงบางช้าง" เป็นชุมชนเล็กๆที่มีความเจริญทั้งในด้าน การเกษตรและการพาณิชย์ มีหลักฐานเชื่อได้ว่า ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้น แขวงบางช้างมีตลาดค้าขายเรียกว่า "ตลาดบางช้าง" นายตลาดเป็นหญิงชื่อ น้อย มีบรรดาศักดิ์เป็นท้าวแก้วผลึก นายตลาดผู้นี้อยู่ในตระกูลเศรษฐีบางช้าง ซึ่งต่อมาเป็นราชนิกุล "ณ บางช้าง"

      ปีพ.ศ. 2303 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ได้โปรดให้นายทองด้วง (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ซึ่งเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา ภายหลังหลวงยกกระบัตรได้แต่งงานกับคุณนาค(สมเด็จพระอมรินทรามาตรย์) บุตรีเศรษฐีบางช้าง และย้ายบ้านไปอยู่หลังวัดจุฬามณี ต่อมาเมื่อไฟไหม้บ้านจึงได้ย้ายไปอยู่ที่หลังวัดอัมพวันเจติยารามอีก 3 ปี ปีพ.ศ.2310 พม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก หลวงยกกระบัตรจึงตัดสินใจอพยพครอบครัวเข้าไปอยู่ในป่าลึก ในระหว่างนี้ ท่านแก้ว (สมเด็จกรมพระศรีสุดารักษ์) พี่สาวของหลวงยกกระบัตร ได้คลอดบุตรหญิงคนหนึ่งชื่อว่า "บุญรอด" (ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2)

      ในช่วงสมัยกรุงธนบุรี พระยาวชิรปราการ ได้รวบรวมกำลังขับไล่พม่าออกไปหมด และสถาปนาตนขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลวงยกกระบัตรได้อพยพครอบครัวกลับภูมิลำเนาเดิม ในช่วงนี้เอง คุณนาค ภรรยา ก็ได้คลอดบุตรคนที่ 4 เป็นชายชื่อ "ฉิม" (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) หลังจากนั้น หลวงยกกระบัตรก็ได้กลับเข้ารับราชการอยู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา และได้ดำรงตำแหน่งจนเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และปราบดาภิเษกขึ้นเป็น "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"ต้นราชวงศ์จักรี จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คุณนาค ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ คุณสั้น มารดาคุณนาค ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระรูปศิริโสภาคมหานาคนารี

       แต่เนื่องจากสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ทรงเป็นคนพื้นบ้านบางช้างมาก่อน จึงมีพระประยูรญาติต่างๆประกอบอาชีพทำสวนอยู่ที่บางช้าง เมื่อได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ จึงนับเป็นราชินิกุล "บางช้าง"พระประยูรญาติจึงเกี่ยวดองเป็นวงศ์บางช้างด้วย และสมเด็จพระอมรินทรามาตย์มักเสด็จมาเยี่ยมพระประยูรญาติเสมอ จึงมีคำกล่าวเรียกว่า "สวนนอก" หมายถึง สวนบ้านนอก ที่เป็นของวงศ์ราชินิกุลบางช้าง ส่วนบางกอก ซึ่งเป็นส่วนของเจ้านายในราชวงศ์ ก็เรียกว่า "สวนใน" มีคำกล่าวว่า "บางช้างสวนนอก บางกอกสวนใน" จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 จึงยกเลิกไป อำเภออัมพวาจึงเป็นเมืองที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยมายาวนาน

ข้อมูลทั่วไปตำบลอัมพวา

ประวัติความเป็นมา :

บริเวณพื้นที่ตำบลอัมพวา เดิมเรียกว่า แขวงบางช้าง ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าจัดตั้งขึ้นเมื่อใด บริเวณแขวงบางช้างนี้ถูกเรียกว่า ?สวนนอก? มีลักษณะเป็นชุมชนเล็ก ๆ แต่มีความเจริญทั้งในการเกษตรกรรมและการพาณิชยกรรม เพราะในสมัยพระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา แขวงบางช้างมีตลาดแห่งหนึ่งเรียกว่า ? ตลาดบางช้าง? มีนายตลาด บางช้าง เป็นผู้เก็บภาษีอากรขนาดตลาด นายตลาดผู้นี้เป็นผู้หญิงชื่อน้อย มีบรรดาศักดิ์เป็นท้าวแก้วผลึก เป็นคนในตระกูลเศรษฐีในแขวงบางช้าง ซึ่งต่อมาเป็นต้นวงศ์ราชนิกูลบางช้าง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่กรุงรัตนโกสินทร์
ในปี พ.ศ.2481 ได้รวมท้องที่ตำบลอัมพวาและตำบลบางกะพ้อมเข้าด้วยกันเป็นตำบลอัมพวา

สภาพทั่วไปของตำบล :

พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม แม่แม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน

 

มีลำคลองผ่านหลายสาย ได้แก่

คลองอัมพวา

 

คลองลัดตาโชติ(หน้าบ้านฝนโฮมสเตย์)

คลองบางจาก

คลองดาวดึงษ์

 

คลองวัดนางวัง คลองวัดบางกะพ้อม  ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุน น้ำไหลขึ้นลงตลอดปี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนผลไม้ ได้แก่ สวนลิ้นจี่ สวนส้มโอ สวนมะพร้าว สวนมะม่วง ฯลฯ

..


ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป จะมีฝนตกชุกประมาณเดือน พฤษภาคม ? ตุลาคม เนื่องจากได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ 

อาณาเขตตำบล :

ทิศเหนือ จรดกับตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ทิศใต้ จรดกับแม่น้ำแม่กลาง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ทิศตะวันออก จรดกับตำบลบ้านปรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
ทิศตะวันตก จรดกับแม่น้ำแม่กลอง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

จำนวนประชากรของตำบล :

จำนวนประชากรทั้งสิ้น 6,369 คน เป็นชาย 3,012 คน เป็นหญิง 3,357คน

ข้อมูลอาชีพของตำบล :

อาชีพหลัก ค้าขาย/ทำสวนผลไม้

เทศกาลและงานประเพณี

มกราคม 

1 มกราคม : ใส่บาตรอาหารแห้ง ณ หน้าเทศบาลตำบลอัมพวา

กุมภาพันธ์

กุมภาพันธ์ : งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ อุทยานร.2

(สำหรับวันที่จัดงานในแต่ละปีจะไม่ตรงกันซึ่งทางมูลนิธิจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อนจัดงานค่ะ)

เมษายน

เมษายน : ช่วงที่ลิ้นจี่อัมพวาออกผลผลิต ซึ่งวันที่จัดงานที่ศาลากลางจังหวัดทางจังหวัดจะแจังให้ทราบก่อนจัดงานค่ะ

 

 

 



หน้าแรก | รูปบ้าน | กิจกรรม | กติกาบ้าน/การจอง | MAPอัมพวา/บ้าน | Guest Book | ผู้มาเยือน | ติดต่อ/คำถาม
..SIAMHOST.. fonhomestay.com